นายอภิจิณ โชติกเสถียร
รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
เปิดเผยหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายครั้งที่ 40-8/2562 ว่า
ที่ประชุมได้รับหนังสือจากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ส่งถึงนายพสุ โลหารชุน
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานกรรมการวัตถุอันตราย เมื่อวันที่ 17 ก.ย.ที่ผ่านมา
เรื่อง การแจ้งบัญชาของนายกรัฐมนตรี (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา)
กรณีการแก้ไขปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง 3 ประเภท
ได้แก่ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต โดยเร่งให้คณะกรรมการฯ
ดำเนินการหารือทั้ง 4 ส่วน คือภาครัฐ ผู้นำเข้า เกษตรกร และผู้บริโภค
ในการแสดงความคิดเห็นเพื่อสร้างความเข้าใจ รวมถึงปัญหา วิธีการและผลกระทบ
เพื่อให้เข้าใจตรงกัน เพราะรัฐบาลไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้กับผู้นำเข้าสาร 3 ประเภท
แต่อย่างใด “ที่ประชุมมอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปหารือทั้ง 4 ส่วน
เพื่อให้ได้ข้อตกลงร่วมกันถึงแนวทางปฏิบัติในเชิงวิชาการถึงวิธีการแก้ไขปัญหาและผลกระทบทั้งหมด
รวมทั้งในส่วนของการลด เลิก หรือหาสารทดแทนการใช้สาร 3 ประเภท
และให้กลับมารายงานความคืบหน้าภายใน 60 วัน นับจากนี้” นอกจากนี้
ยังมอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปเร่งหาการหาสารทดแทน ในกรณีที่ต้องยกเลิกสารทั้ง 3
ประเภท
ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับกลับไปรวบรวมข้อมูลเพื่อค้นคว้าวิจัยให้ได้ข้อสรุปในการประชุมครั้งต่อไปในเดือน
ต.ค.นี้ เพราะปัจจุบันยังไม่สามารถหาสารอื่นๆที่เข้ามาทดแทนทั้ง 3 สารได้
จึงเป็นเรื่องที่กระทรวงเกษตรฯต้องไปหาสารทดแทน ที่ต้องคำนึงถึงราคาที่ผู้บริโภค
และผู้นำเข้าสามารถเข้าถึงได้ รวมทั้งราคาต้องไม่สูงเกินกว่าที่จะยอมรับได้
โดยเฉพาะสิ่งสำคัญต้องไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตและร่างกาย
“ที่ประชุมยังได้รับหนังสือจากพลเอก วิทวัส รชตะนันทน์ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ส่งมาถึงกระทรวงอุตสาหกรรม
ที่ขอให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายและกระทรวงอุตสาหกรรม
นำข้อเท็จจริงจากความเห็นของกระทรวงสาธารณสุข
ที่ยืนยันอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนจากพาราควอต
ไปประกอบการพิจารณาในการปรับปรุงประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
เพื่อปรับระดับการควบคุมวัตถุอันตราย พาราควอตที่เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4
ให้มีผลโดยเร็ว หรือตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2563”.
chemistry
วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2562
วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2562
ข้อสอบ O-NET ปี 2550
ข้อสอบ O-NET ปี 2550
ข้อที่ 1. สารชีวโมเลกุลชนิดใดมีมากที่สุดของน้ำหนักแห้งในร่างกายคน
ตัวเลือกที่ 1 : ไขมัน
ตัวเลือกที่ 2 : โปรตีน
ตัวเลือกที่ 3 : คาร์ไบไฮเดรต
ตัวเลือกที่ 4 : กรดนิวคลีอิก
ข้อที่ 2. ในการปรุงอาหารให้แก่ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงน้ำมันชนิดใด
เพราะเหตุใด
ตัวเลือกที่ 1 : น้ำมันถั่วเหลือง
เพราะมีโปรตีนมากเกินไป
ตัวเลือกที่ 2 : น้ำมันรำ
เพราะเกิดกลิ่นเหม็นหืนง่าย
ตัวเลือกที่
3 : น้ำมันมะพร้าว เพราะมีกรดไขมันอิ่มตัวมาก
ตัวเลือกที่ 4 : น้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย
เพราะมีกรดไขมันที่จำเป็นมาก
ข้อที่ 3. ข้อใดไม่ถูกต้อง
ตัวเลือกที่ 1 : กรดไลโนเลอิก
เป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว
ตัวเลือกที่ 2 : ถ้าเด็กทารกขาดกรดไลโนเลนิก
จะมีผิวหนังแห้ง อักเสบ หลุดลอก
ตัวเลือกที่ 3 : ไขมันเมื่อต้มกับเบสจะเกิดปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชัน
ตัวเลือกที่
4 : คอเลสเทอรอลไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
ทำให้เส้นเลือดอุดตัน
ข้อที่ 4. กรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับทารกคือข้อใด
ตัวเลือกที่
1 : อาร์จินีน และฮีสติดีน
ตัวเลือกที่ 2 : ทริปโตเฟนและเมไทโอนีน
ตัวเลือกที่ 3 : ไลซีนและลิวซีน
ตัวเลือกที่ 4 : ไอโซลิวซีนและเวลีน
ข้อที่ 5. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของโปรตีน
ตัวเลือกที่ 1 : รักษาสมดุลของน้ำและกรด-เบส
ตัวเลือกที่ 2 : เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ทุกชนิด
ตัวเลือกที่ 3 : สร้างอิมมูโนโกลบูลิน
ตัวเลือกที่
4 : ช่วยละลายวิตามิน A D E K
ข้อที่ 6. สารชนิด
A เมื่อหยดสารละลายเบเนดิกต์ลงไป
แล้วเกิดตะกอนสีแดงอิฐ สารชนิด B เมื่อหยดสารละลายทิงเจอร์ไอโอดีนลงไป
แล้วเกิดสีน้ำเงิน ข้อใดผิด
ตัวเลือกที่ 1 : A คือ
มอโนแซ็กคาไรด์
ตัวเลือกที่
2 : B สามารถย่อยสลายด้วยเอมไซม์อะไมเลสแล้วจะได้น้ำตาลแลกโตส
ตัวเลือกที่ 3 : เมื่อนำ
A ไปหมักด้วยยีสต์ จะได้เอทิลแอลกอฮอล์
ตัวเลือกที่ 4 : B เมื่อถูกความร้อนจะสลายเป็นเด็กซ์ตริน
มีสมบัติเหนียวแบบกาว
ข้อที่ 7. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของกรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก
( DNA)
ตัวเลือกที่ 1 : น้ำตาลไรโบส
ตัวเลือกที่ 2 : อะดีนีน
ตัวเลือกที่ 3 : หมู่ฟอสเฟต
ตัวเลือกที่
4 : กรดไรโบนิวคลิอิก (RNA)
ข้อที่ 8. โครงสร้างของDNA
สายหนึ่งมีคู่เบสเป็น A C A G ดังนั้นคู่เบสของ
DNA อีกสายคือข้อใด
ตัวเลือกที่ 1 : A C A G
ตัวเลือกที่ 2 : C A G A
ตัวเลือกที่ 3 : T G T C
ตัวเลือกที่
4 : G T T C
ข้อที่ 9. พิจารณาข้อความต่อไปนี้
ข้อใดถูก ก. ซากพืชซากสัตว์ จะถูกย่อยสลายเกิดเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ข.
ในการกลั่นลำดับส่วนน้ำมันดิบ จะได้สารที่เป็นแก๊สออกมาก่อน ค.
แก๊สหุงต้มในครัวเรือน ประกอบด้วยแก๊สมีเทนและโพรเพน ง. สารไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัว
มีพันธะระหว่างคาร์บอนเป็นพันธะคู่
ตัวเลือกที่
1 : ก ข
ตัวเลือกที่ 2 : ข ค
ตัวเลือกที่ 3 : ค ง
ตัวเลือกที่ 4 : ก ง
ข้อที่ 10. น้ำมันชนิดใดเหมาะกับเครื่องยนต์แก๊สโซลีนและไม่มีมลพิษ
ก. น้ำมันที่มีไอโซออกเทนมากกว่าเฮปเทนมากๆ ข.
น้ำมันที่มีการเติมสารเมทิลเทอร์เชียรีบิวทิลอีเทอร์ ค.
น้ำมันที่มีเลขออกเทนต่ำกว่า 75 และเติมสารเตตระเมทิลเลต ง.
น้ำมันที่มีเลขซีเทนสูงๆ
ตัวเลือกที่
1 : ก ข
ตัวเลือกที่ 2 : ข ค
ตัวเลือกที่ 3 : ค ง
ตัวเลือกที่ 4 : ก ง
ข้อที่ 11. ข้อใดเป็นพอลิเมอร์ทั้งหมด
ตัวเลือกที่ 1 : แป้ง
เซลลูโลส น้ำตาล
ตัวเลือกที่
2 : โปรตีน พอลิเอทิลีน ยางพารา
ตัวเลือกที่ 3 : ไขมัน
เตตระฟลูออโรเอทิลีน ไวนิลคอลไรด์
ตัวเลือกที่ 4 : ไกลโคเจน
ซิลิโคน กลูโคส
ข้อที่ 12. พลาสติกชนิดใดไม่ใช่เทอร์โมพลาสติก
ตัวเลือกที่ 1 : A เป็นพลาสติกที่เมื่อได้รับความร้อนจะอ่อนตัว
ตัวเลือกที่ 2 : B เป็นพลาสติกที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
ตัวเลือกที่ 3 : C เป็นพลาสติกที่สมบัติไม่เปลี่ยนแปลง
ตัวเลือกที่
4 : D เป็นพลาสติกที่มีโครงสร้างแบบตาข่ายหรือร่างแห
ข้อที่ 13. พิจารณาข้อความเกี่ยวกับยางต่อไปนี้
ข้อใดถูก ก. ยาง เกิดจากมอนอเมอร์ของธาตุซิลิคอน ข. ยางธรรมชาติ
ทนต่อน้ำมันเบนซินและตัวละลายอินทรีย์ ค. การปรับปรุงคุณภาพยางธรรมชาติให้ดีขึ้น
โดยนำมาคลุกกับกำมะถัน ง. ยาง SBR เกิดจากมอนอเมอร์ของสไตรีนและบิวทาไดอีน
ตัวเลือกที่ 1 : ก ข
ตัวเลือกที่ 2 : ข ค
ตัวเลือกที่
3 : ค ง
ตัวเลือกที่ 4 : ก ง
ข้อที่ 14. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแล้วให้พลังงานความร้อนออกมา เรียกว่าปฏิกิริยาดูดความร้อน
ข. ฝนกรดที่เกิดบริเวณที่มีการใช้ถ่านหิน จะเกิดจากแก๊สคาร์บอนมอนออกไซด์ ค.โอโซน
เป็นแก๊สพิษ ทำให้เกิดการระคายเคืองกับดวงตาและทางเดินหายใจ ง.
โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตหรือผงฟู ใช้ดับไฟป่าได้
ตัวเลือกที่ 1 : ก ข
ตัวเลือกที่ 2 : ข ค
ตัวเลือกที่
3 : ค ง
ตัวเลือกที่ 4 : ก ง
วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2562
3.5 การใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ
จากการที่สารประกอบไอออนิกสารโคเวเลนต์และโลหะมีสมบัติเฉพาะตัวมาว่าการที่ต่างกันจึงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆได้ตามความเหมาะสม
เช่น
- แอมโมเนียมคลอไรด์และซิงค์คลอไรด์
เป็นสารประกอบไอออนิกที่สามารถนำไฟฟ้าได้จากการแตกตัวเป็นไอออนเมื่อละลายน้ำจึงนำไปใช้เป็นสารอิเล็กโทรไลต์ในถ่านไฟฉาย
- พอลิไวนิลคลอไรด์หรือ PVC เป็นสารโคเวเลนต์ที่ไม่สามารถนำไฟฟ้าได้จึงเป็นฉนวนไฟฟ้าที่หุ้มสายไฟฟ้า
- ซิลิกอนคาร์ไบด์
เป็นสารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่ายที่มีจุดหลอมเหลวสูงและมีความแข็งแรงมากจึงนำไปใช้ทำเครื่องบด
- ทองแดงและอะลูมิเนียม
เป็นโลหะที่นําไฟฟ้าได้ดีจึงนำไปใช้เป็นตัวนำไฟฟ้าอลูมิเนียมและเหล็กเป็นโลหะที่นําความร้อนได้ดีจึงนำไปทำภาชนะสำหรับประกอบอาหาร
เช่น หม้อ กะทะ
3.4 พันธะโลหะ
3.4 พันธะโลหะ
พันธะโลหะ (Metallic Bond) คือ
แรงดึงดูดระหว่างไออนบวกซึ่งเรียงชิดกันกับอิเล็กตรอนที่อยู่โดยรอบหรือเป็นแรงยึดเหนี่ยวที่เกิดจากอะตอมในก้อนโลหะใช้เวเลนส์อิเล็กตรอนทั้งหมดร่วมกัน
อิเล็กตรอนอิสระเกิดขึ้นได้
เพราะโลหะมีวาเลนส์อิเล็กตรอนน้อยและมีพลังงานไอออไนเซชันต่ำ
จึงทำให้เกิดกลุ่มของอิเล็กตรอนและไอออนบวกได้ง่าย
พลังงานไอออไนเซชันของโลหะมีค่าน้อยมาก
แสดงว่าอิเล็กตรอนในระดับนอกสุดของโลหะถูกยึดเหนี่ยวไว้ไม่แน่นหนา อะตอมเหล่านี้จึงเสียอิเล็กตรอนกลายเป็นไอออนบวกได้ง่าย เมื่ออะตอมของโลหะมารวมกันเป็นกลุ่ม
ทุกอะตอมจะนำเวเลนซ์อิเล็กตรอนมาใช้ร่วมกัน โดยอะตอมของโลหะจะอยู่ในสภาพของไอออนบวก
ส่วนเวเลนซ์อิเล็กตรอนทั้งหมดจะอยู่เป็นอิสระ ไม่ได้เป็นของอะตอมใดอะตอมหนึ่งโดยเฉพาะ แต่สามารถเคลื่อนที่ไปได้ทั่วทั้งก้อนโลหะ และเนื่องจากอิเล็กตรอนเคลื่อนที่เร็วมาก
จึงมีสภาพคล้ายกับมีกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนปกคลุมก้อนโลหะนี้นอยู่ เรียกว่า ทะเลอิเล็กตรอน
โดยมีไอออนบวกฝังอยู่ในกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนซึ่งเป็นลบ จึงเกิดแรงดึงดูดที่แน่นหนาทั่วไปทุกตำแหน่งภายในก้อนโลหะนั้น
ดังภาพ
สมบัติของโลหะ
เป็นตัวนำไฟฟ้าได้ดี
เพราะมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่ไปได้ง่ายทั่วทั้งก้อนของโลหะ
แต่โลหะนำไฟฟ้าได้น้อยลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
เนื่องจากไอออนบวกมีการสั่นสะเทือนด้วยความถี่และช่วงกว้างที่สูงขึ้นทำให้อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ไม่สะดวก
โลหะนำความร้อนได้ดี เพราะมีอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ได้
โดยอิเล็กตรอนซึ่งอยู่ตรงตำแหน่งที่มีอุณหภูมิสูง จะมีพลังงานจลน์สูง และอิเล็กตรอนที่มีพลังงานจลน์สูงจะเคลื่อนที่ไปยังส่วนอื่นของโลหะจึงสามารถถ่ายเทความร้อนให้แก่ส่วนอื่น
ๆ ของแท่งโลหะที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าได้
โลหะตีแผ่เป็นแผ่นหรือดึงออกเป็นเส้นได้ เพราะไอออนบวกแต่ละไอออนอยู่ในสภาพเหมือนกันๆ
กัน
และได้รับแรงดึงดูดจากประจุลบเท่ากันทั้งแท่งโลหะ
ไอออนบวกจึงเลื่อนไถลผ่านกันได้โดยไม่หลุดจากกัน
เพราะมีกลุ่มของอิเล็กตรอนทำหน้าที่คอยยึดไอออนบวกเหล่านี้ไว้
โลหะมีผิวเป็นมันวาว
เพราะกลุ่มของอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ได้โดยอิสระจะรับและกระจายแสงออกมา
จึงทำให้โลหะสามารถสะท้อนแสงซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้
โลหะมีจุดหลอมเหลวสูง เพราะพันธะในโลหะ
เป็นพันธะที่เกิดจากแรงยึดเหนี่ยวระหว่างวาเลนซ์อิเล็กตรอนอิสระทั้งหมดในด้อนโลหะกับไอออนบวกจึงเป็นพันธะที่แข็งแรงมาก
3.3 พันธะโคเวเลนต์
3.3 พันธะโคเวเลนต์
พันธะโควาเลนต์ (Covalent bond) หมายถึง
พันธะในสารประกอบที่เกิดขึ้นระหว่างอะตอม 2
อะตอมที่มีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีใกล้เคียงกันหรือเท่ากัน
แต่ละอะตอมต่างมีความสามารถที่จะดึงอิเล็กตรอนไว้กับตัว
อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะจึงไม่ได้อยู่ ณ อะตอมใดอะตอมหนึ่งแล้วเกิดเป็นประจุเหมือนพันธะไอออนิก
หากแต่เหมือนการใช้อิเล็กตรอนร่วมกันระหว่างอะตอมคู่ร่วมพันธะนั้นๆและมีจำนวนอิเล็กตรอนอยู่รอบๆ
แต่ละอะตอมเป็นไปตามกฎออกเตต ดังภาพ
เป็นพันธะที่เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนข้างนอกร่วมกันระหว่างอะตอมของธาตุหนึ่งกับอีกธาตุหนึ่งแบ่งเป็น
3 ชนิดด้วยกัน
1. พันธะเดี่ยว (Single covalent bond )เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน
1 อิเล็กตรอน เช่น F2 Cl2 CH4
เป็นต้น
2. พันธะคู่ ( Doublecovalent bond ) เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกันของธาตุทั้งสองเป็นคู่
หรือ 2 อิเล็กตรอน เช่น O2 CO2 C2H4
เป็นต้น
3. พันธะสาม ( Triple covalent bond ) เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน
3 อิเล็กตรอน ของธาตุทั้งสอง เช่น N2
C2H2 เป็นต้น
การอ่านชื่อสารประกอบโควาเลนซ์
สารประกอบของธาตุคู่
ให้อ่านชื่อธาตุที่อยู่ข้างหน้าก่อน แล้วตามด้วยชื่อธาตุที่อยู่หลัง โดยเปลี่ยนเสียงพยางค์ท้ายเป็น
“ ไอด์” (ide)
ให้ระบุจำนวนอะตอมของแต่ละธาตุด้วยเลขจำนวนในภาษากรีก
ดังตาราง
ถ้าสารประกอบนั้นอะตอมของธาตุแรกมีเพียงอะตอมเดียว
ไม่ต้องระบุจำนวนอะตอมของธาตุนั้น แต่ถ้าเป็นอะตอมของธาตุหลังให้อ่าน “ มอนอ” เสมอ
การพิจารณารูปร่างโมเลกุลโควาเลนต์
โมเลกุลโควาเลนต์ในสามมิตินั้น
สามารถพิจารณาได้จากการผลักกันของอิเล็กตรอนที่มีอยู่รอบๆ อะตอมกลางเป็นสำคัญ
โดยอาศัยหลักการที่ว่า อิเล็กตรอนเป็นประจุลบเหมือนๆ กัน
ย่อมพยายามที่แยกตัวออกจากกนให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้
ดังนั้นการพิจารณาหาจำนวนกลุ่มของอิเล็กตรอนที่อยู่รอบๆ นิวเคลียสและอะตอมกลาง
จะสามารถบ่งบอกถึงโครงสร้างของโมเลกุลนั้น ๆ ได้ โดยที่กลุ่มต่างๆ มีดังนี้
- อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
- อิเล็กตรอนคู่รวมพันธะได้แก่ พันธะเดี่ยว
พันธะคู่ และพันธะสาม
ทั้งนี้โดยเรียงตามลำดับความสารารถในการผลักอิเลคตรอนกลุ่มอื่นเนื่องจากอิเลคตรอนโดดเดี่ยวและอิเลคตรอนที่สร้างพันธะนั้นต่างกันตรงที่อิเล็กตรอนโดยเดี่ยวนั้นถูกยึดด้วยอะตอมเพียงตัวเดียว
ในขณะที่อิเล็กตรอนที่ใช้สร้างพันธะถูกยึดด้วยอะตอม 2
ตัวจึงเป็นผลให้อิเลคตรอนโดดเดี่ยวมีอิสระมากกว่าสามารถครองพื้นที่ในสามมิตได้มากกว่า
ส่วนอิเล็กตรอนเดี่ยวและอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว รวมไปถึงอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะแบบต่าง
ๆ นั้นมีจำนวนอิเลคตรอนไม่เท่ากันจึงส่งผลในการผลักอิเลคตรอนกลุ่มอื่นๆ
ได้มีเท่ากัน โครงสร้างที่เกิดจกการผลักกันของอิเล็กตรอนนั้น
สามารถจัดเป็นกลุ่มได้ตามจำนวนของอิเล็กรอนที่มีอยู่ได้ตั้งแต่ 1
กลุ่ม 2 กลุ่ม 3
กลุ่ม ไปเรื่อยๆ เรียกวิธีการจัดตัวแบบนี้ว่า
ทฤษฎีการผลักกันของคู่อิเล็กตรอนวงนอก (Valence Shell Electron Pair
Repulsion : VSEPR) ดังภาพ
ภาพแสดงรูปร่างโครงสร้างโมเลกุลโควาเลนต์แบบต่างๆ
ตามทฤษฎี VSEPR
หมายเหตุ A คือ
จำนวนอะตอมกลาง (สีแดง)
X คือ จำนวน อิเล็กตรอนคู่รวมพันธะ (สีน้ำเงิน)
E คือ จำนวนอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว (สีเขียว)
แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล ( Van de
waals interaction)
เนื่องจากโมเลกุลโควาเลนต์ปกติจะไม่ต่อเชื่อมกันแบบเป็นร่างแหอย่างพันธะโลหะหรือไอออนิก
แต่จะมีขอบเขตที่แน่นอนจึงต้องพิจารณาแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลด้วย
ซึ่งจะเป็นส่วนที่ใช้อธิบายสมบัติทางกายภาพของโมเลกุลโควาเลนต์ อันได้แก่
ความหนาแน่น จุดเดือด จุดหลอมเหลว หรือความดันไอได้
โดยแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลนั้นเกิดจากแรงดึงดูดเนื่องจากความแตกต่างของประจุเป็นสำคัญ
ได้แก่
1. แรงลอนดอน ( London Force) เป็นแรงที่เกิดจากการดึงดูดทางไฟฟ้าของโมเลกุลที่ไม่มีขั้วซึ่งแรงดึงดูดทางไฟฟ้านั้นเกิดได้จากการเลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอย่างเสียสมดุลทำให้เกิดขั้วเล็กน้อย
และขั้วไฟฟ้าเกิดขึ้นชั่วคราวนี้เอง
จะเหนี่ยวนำกับโมเลกุลข้างเคียงให้มีแรงยึดเหนี่ยวเกิดขึ้น ดังภาพ
อิเล็กตรอนสม่ำเสมอ........................อิเล็กตรอนมีการเปลี่ยนแปลงตามเวลา
ดังนั้นยิ่งโมเลกุลมีขนาดใหญ่ก็จุยิ่งมีโอกาสที่อิเลคตรอนเคลื่อนที่ได้เสียสมดุลมากจึงอาจกล่าวได้ว่าแรงลอนดอนแปรผันตรงกับขนาดของโมเลกุล
เช่น F2 Cl2 Br2 I2 และ CO2
เป็นต้น
2. แรงดึงดูดระหว่างขั้ว (Dipole-Dipole
interaction)เป็นแรงยึดเหนี่ยวที่เกิดระหว่างโมเลกุลที่มีขั้วสองโมเลกุลขึ้นไปเป็นแรงดึงดูดทางไฟฟ้าที่แข็งแรงกว่าแรงลอนดอน
เพราะเป็นขั้นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นอย่างถาวร
โมเลกุลจะเอาด้านที่มีประจุตรงข้ามกันหันเข้าหากัน ตามแรงดึงดูดทางประจุ เช่น H2O
HCl H2S และ CO เป็นต้น ดังภาพ
3. พันธะไฮโดรเจน ( hydrogen bond ) เป็นแรงยึดเหนี่ยวที่มีค่าสูงมาก
โดยเกิดระหว่างไฮโดรเจนกับธาตุที่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวเหลือ
เกิดขึ้นได้ต้องมีปัจจัยต่างๆ ได้แก่
ไฮโดรเจนที่ขาดอิเล็กตรอนอันเนื่องจากถูกส่วนที่มีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีสูงในโมเลกุลดึงไป
จนกระทั้งไฮโดรเจนมีสภาพเป็นบวกสูงและจะต้องมีธาตุที่มีอิเลคตรอนคู่โดดเดี่ยวเหลือและมีความหนาแน่นอิเลคตรอนสูงพอให้ไฮโดรเจนที่ขาดอิเลคตรอนนั้น
เข้ามาสร้างแรงยึดเหนี่ยวด้วยได้เช่น H2O HF NH3
เป็นต้น ดังภาพ
สภาพขั้วของโมเลกุลน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
การเกิดพันธะไฮโดรเจนของโมเลกุลน้ำ
3.2 พันธะไอออนิก
3.2 พันธะไอออนิก
พันธะไอออนิก ( Ionic bond ) หมายถึงแรงยึดเหนี่ยวที่เกิดในสารประกอบที่เกิดขึ้นระหว่าง
2
อะตอมอะตอมที่มีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีต่างกันมาก
อะตอมที่มีค่าอิเลคโตรเนกาติวิตีน้อยจะให้อิเลคตรอนแก่อะตอมที่มีค่าอิเลคโตรเนกาติวิตีมาก
และทำให้อิเล็กตรอนที่อยู่รอบๆ อะตอมครบ 8 (octat rule ) กลายเป็นไอออนบวก
และไอออนลบตามลำดับ เกิดแรงดึงดูดทางไฟฟ้าระหว่างไอออนบวกและไอออนลบ
และเกิดเป็นโมเลกุลขึ้น เช่น การเกิดสารประกอบ NaCl ดังภาพ
จากตัวอย่าง Na ซึ่งมีวาเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ
1 ได้ให้อิเล็กตรอนแก่ Cl ที่มีวาเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ
7 จึงทำให้ Na และ
Cl มีวาเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 8
เกิดเป็นสารประกอบไอออนิก
สมบัติของสารประกอบไอออนิก
1. มีขั้ว
เพราะสารประกอบไอออนิกไม่ได้เกิดขึ้นเป็นโมเลกุลเดี่ยว
แต่จะเป็นของแข็งซึ่งประกอบด้วยไอออนจำนวนมาก
ซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงยึดเหนี่ยวทางไฟฟ้า
2. ไม่นำไฟฟ้าเมื่ออยู่ในสภาพของแข็ง
แต่จะนำไฟฟ้าได้เมื่อใส่สารประกอบไอออนิกลงในน้ำ ไอออนจะแยกออกจากกัน
ทำให้สารละลายนำไฟฟ้าในทำนองเดียวกันสารประกอบที่หลอมเหลวจะนำไฟฟ้าได้ด้วยเนื่องจากเมื่อหลอมเหลวไอออนจะเป็นอิสระจากกัน
เกิดการไหลเวียนอิเลคตรอนทำให้อิเลคตรอนเคลื่อนที่จึงเกิดการนำไฟฟ้า
3 . มีจุหลอมเหลวและจุดเดือดสูง
ความร้อนในการทำลายแรงดึงดูดระหว่างไอออนให้กลายเป็นของเหลวต้องใช้พลังงานสูง
4 . สารประกอบไอออนิกทำให้เกิดปฏิกิริยาไอออนิก คือ
ปฏิกิริยาระหว่างไอออนกับไอออน ทั้งนี้เพราะสารไอออนิกจะเป็นไอออนอิสระในสารละลาย
ปฏิกิริยาจึงเกิดทันที
5 . สมบัติไม่แสดงทิศทางของพันธะไอออนิก
สารประกอบไอออนิกเกิดจากไอออนที่มีประจุตรงกันข้ามรอบ ๆ
ไอออนแต่ละไอออนจะมีสนามไฟฟ้าซึ่งไม่มีทิศทาง จึงทำให้เกิดสมบัติไม่แสดงทิศทางของพันธะไอออนิก
6. เป็นผลึกแข็ง แต่เปราะและแตกง่าย
การอ่านชื่อสารประกอบไออนิก
กรณีเป็นสารประกอบธาตุคู่
ให้อ่านชื่อธาตุที่เป็นประจุบวก แล้วตามด้วยธาตุประจุลบ
โดยลงท้ายเสียงพยางค์ท้ายเป็น “ ไอด์” (ide) เช่น
กรณีเป็นสารประกอบธาตุมากกว่าสองชนิด
ให้อ่านชื่อธาตุที่เป็นประจุบวก แล้วตามด้วยกลุ่มธาตุที่เป็นประจุลบได้เลย เช่น
กรณีเป็นสารประกอบธาตุโลหะทรานซิชัน
ให้อ่านชื่อธาตุที่เป็นประจุบวกและจำนวนเลขออกซิเดชันหรือค่าประจุของธาตุเสียก่อน
โดยวงเล็บเป็นเลขโรมัน แล้วจึงตามด้วยธาตุประจุลบ เช่น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ข้อสรุป 3 สารพิษยังวนในอ่าง
ที่มา https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/1663970 นายอภิจิณ โชติกเสถียร รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผย...
-
3.1 สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสและกฎออกเตต แบบจำลองลิวอิส สัญลักษณ์แบบจุด ( electron-dot symbol) “ สัญลักษณ์ทางเคมีของธาตุ ล้อมรอบด้วย...
-
ข้อสอบ O-NET ปี 2550 ข้อที่ 1. สารชีวโมเลกุลชนิดใดมีมากที่สุดของน้ำหนักแห้งในร่างกายคน ตัวเลือกที่ 1 : ไขมัน ตัวเลือกที่ 2 : โปรตีน ...